Skip to main content
Brand Hong Kong - Asia world city
Site Map Contact Us
Search

เนื้อหาแปลเป็นภาษาอื่น ๆ

ภาษาไทย

เว็ปไซด์ของกรมราขทัณฑ์ (CSD) ฉบับภาษาไทยประกอบด้วยข้อมูลที่ได้คัดเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ไว้เท่านั้น สามารถเข้าตรวจเนื้อหาทั้งหมดในเว็ปไซด์ของเราเป็นภาษาอังกฤษ จีนดั้งเดิม หรือจีนประยุกข์ได้

ยินดีต้อนรับสู่หน้าแรกของกรมราชทัณฑ์ (CSD) ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

ภารกิจของ CSD คือการปกป้องสาธารณชนและหลีกเลี่ยงอาชญากรรมเพื่อฮ่องกงที่ดีขึ้น โดยการจัดหาสิ่งสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มั่นคง มีมนุษยธรรม เหมาะสมและถูกสุขอนามัยสำหรับผู้ถูกควบคุมตัว สร้างโอกาสในการฟื้นฟูโดยการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มชุมชน และเป็นการส่งเสริมเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งค่านิยมที่ครอบคลุมโดยผ่านการศึกษาชองชุมชน

ฮ่องกงกำลังเดินทางเข้าสู่ยุคใหม่ของการก้าวหน้าจากความมั่นคงไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง เราจะยังคงยืนหยัดยึดมั่นในตำแหน่งหน้าที่ของเรา ยึดถือหลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมทั้งความพยายามเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อบรรลุภารกิจในการปกป้องความมั่นคงของชาติ นอกเหนือจากนั้นเราจะทำให้ดีที่สุดก็เพื่อที่จะได้บอกเล่าเรื่องอันน่าชื่นชมเกี่ยวกับ CSD และฮ่องกง โดยผ่านการแนะนำโครงการริเริ่มใหม่ๆ ในด้านการคุมขัง การฟื้นฟู และการศึกษาของชุมชน

ในด้านงานคุมขังของ CSD เรายังจะคงใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพที่สูงของการจัดการลงโทษอาญา รวมทั้งการแนะนำบริการอีเล็กโทรนิกส์ในเชิงรุกเพื่อความสะดวกของสาธารณชน นอกจากนั้นทางกรมยังจะเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางวิชาชีพคู่ค้าในเขต Greater Bay และทั่วโลก ไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมการร่วมมือข้ามดินแดนเท่านั้น แต่ยังได้ช่วยคู่ค้าของเราจากสถานที่ต่างๆได้ทราบเกี่ยวกับข้อได้เปรียบที่เป็นเอกลักษณ์ และการพัฒนาอันล่าสุดของระบบการราชทัณฑ์ของฮ่องกง

ส่วนด้านงานการฟื้นฟู ทางกรมได้พยายามอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วยเสียจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อเช้าร่วมมือกันในการแนะนำโครงการฟื้นฟูอันหลากหลาย และมีประสิทธิภาพทีดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดัดแปลงผู้ที่หลงทางให้กลับกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างชุมชน เพื่อสังคมที่มั่นคงและสามัคคีกันเป็นอย่างดี CSD จะใช้ให้เป็นประโยชน์จากความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีของฮ่องกงในการสร้างเชื่อมโยงระหว่างตะวันออกและตะวันตก โดยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงและการประสานงานกับแผ่นดินใหญ่ เพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถของตนในการทำการวิจัยเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการพัฒนา และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของการบริการด้านการฟื้นฟู

ส่วนการศึกษาของชุมชน ทาง CSD จะทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเผยแพร่แคมเปญการ ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในการส่งเสริมการป้องกันอาชญากรรม และข้อความชักจูงต่อต้านสาเสพติด เป็นการบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ให้เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย นอกจากนี้ทาง CSD จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะสนับสนุนเยาวชนใช้สถานะของตนในฐานะเสาหลักในอนคตของสังคมให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น โดยการปลดปล่อยศักยภาพความเป็นผู้นำในด้านการศึกษาของชุมชน และกิจกรรมการป้องกันอาชญากรรม นอกเหนือ จากการใช้อิทธิพลเหนือเพื่อนรุ่นเยาว์ด้วยกันแล้ว กลุ่มหนุ่มสาวจะถูกระดมให้มีส่วนร่วมกับกิจการทางสาธารณะต่างๆ อย่างแข็งขัน เพื่อเป็นการหล่อเลี้ยงหัวใจอันห่วงใยต่อชุมชน ตลอดจนถึงเสริมสร้างการอุทิศตนต่อชาติและบ้านเมืองอีกด้วย

สามารถเข้าตรวจเว็ปไซด์ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายดายอย่างเช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม แผนผังขององค์กร ประวัติ และข่าวประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำงานของเราในโครงการบริหารจัดการและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนถึงการศึกษาและกิจกรรมในชุมชนที่ได้จัดขึ้นร่วมกับสัมพันธมิตร เราหวังว่าข้อมูลที่ได้กล่าวถึงข้างต้นจะช่วยทำให้เรา CSD ได้รับการตอบสนองสนับสนุนที่ดี

ขอขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจในงานของเรา เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะใดๆ หากมีเกี่ยวกับงานบริการของเรานี้

วิสัยทัศน์

งานบริการราชทัณฑ์ของฮ่องกงได้รับการยกย่องในระดับสากล ทำให้ฮ่องกงได้รับชื่อว่าเป็นเมืองที่ปลอดภัยที่สุดเมืองหนึ่งในโลก

พันธกิจ

เราปกป้องสาธารณะและป้องกันอาชญากรรมเพื่อฮ่องกงที่ดีขึ้น โดยการ :

  • รับประกันสภาพแวดล้อมของที่คุมขังให้ปลอดภัย แข็งแรง มีมนุษยธรรม เหมาะสมและดีต่อสุขภาพ
  • สร้างโอกาสให้มีการฟื้นฟู โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน
  • ส่งเสริมคุณค่าการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายโดยผ่านการศึกษาของชุมชน

ค่านิยม

  • ความซื่อสัตย์
    เรารับผิดชอบต่อการกระทำของเรา โดยการรักษามาตรฐานทางจริยธรรมและศีลธรรมอันสูงส่ง และเป็นเกียรติของเราที่ได้ทำการรับใช้สังคม
  • ความเป็นมืออาชีพ
    เรามุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์และการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยการ และมีความภาคภูมิใจในบทบาทของเราในฐานะผู้พิทักษ์สังคมและผู้อำนวยความสะดวกในการฟื้นฟู
  • มนุษยธรรม
    เราเคารพศักดิ์ศรีของทุกคน โดยเน้นความเป็นธรรมและความสามัคคีซึ่งกันและกัน
  • วินัย
    เราเคารพหลักนิติธรรมโดยการเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแสวงหาสามัคคี
  • ความพากเพียร
    เรามุ่งมั่นที่จะรับใช้สังคม เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และเผชิญหน้ากับความท้าทายด้วยความกล้าหาญ

บริการการเข้าเยี่ยมโดยการใช้อีบุกคิง (e-Booking)

บริการการเข้าเยี่ยมโดยการใช้อีบุกคิง (SVEBS) บริการนี้ไม่แต่ช่วยลดระยะเวลารอคอยในการลงทะเบียนการเข้าเยี่ยมในสถาบันราชทัณฑ์ แต่ยังช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมสามารถจัดการการเข้าจอง การตรวจสอบสถานะการเข้าเยี่ยมครั้งล่าสุดของบุคคลที่ถูกควบคุมตัว และโควตาสำหรับสิ่งของที่สามารถนำเข้าเยี่ยมได้โดยผ่านระบบดังกล่าว

ผู้เข้าเยี่ยมจำต้องแจ้งตนเป็นผู้เข้าเยี่ยมผู้ที่ถูกควบคุมตัวให้ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บัญชีก่อนที่จะใช้งาน SVEBS ดังกล่าว ผู้เข้าเยี่ยมสามารถลงทะเบียนในบัญชีโดยผ่านวิธีการดังนี้

  1. เปิดใช้แอปพลิเคชันมือถือ "iAM Smart" ;
  2. เข้าชมหน้าเว็บ SVEBS webpage* ผ่านทางเว็บไซต์ของ CSD หรือแอปพลิเคชันมือถือของ CSD เพื่อส่งใบคำร้องไป และเดินทางไปที่สถาบันราชทัณฑ์ที่ผู้ถูกควบคุมอยู่ในอารักขานั้นๆเพื่อการยืนยันตน หรือ
  3. เดินทางไปยังสถาบันราชทัณฑ์ที่ผู้ถูกควบคุมอยู่ในอารักขานั้นๆด้วยตนเองเพื่อยื่นคำร้องและดำเนินการยืนยันตนด้วย

หลังจากที่ได้ลงทะเบียนบัญชีเรียบร้อยแล้ว จำต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ที่ถูกควบคุมก่อนที่ผู้เข้าเยี่ยมสามารถใช้ SVEBS ได้ผู้ใช้สามารถเข้าจองเพื่อการเข้าเยี่ยมในเจ็ดวันข้างหน้าได้โดยผ่านการใช้ "iAM Smart" หรือโดยการเข้าสู่หน้าเว็ปของ SVEBS webpage* สำหรับช่วงเวลาที่ว่างสำหรับ SVEBS ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการเข้าเยี่ยมของแต่ละสถาบัน โปรดเข้าตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละสถาบันเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซด์ของ CSD

ความถี่ของการเข้าเยี่ยมและจำนวนผู้เข้าเยี่ยมในแต่ละครั้ง

ผู้ที่ถูกคุมขังสามารถได้รับการเข้าเยี่ยมโดยญาติและเพื่อนฝูงได้วันละครั้ง การเข้าเยี่ยมในแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 15 นาที และอนุญาตให้ผู้เข้าเยี่ยมได้ไม่เกินสองคน ทั้งนี้รวมทั้งทารกและเด็กในแต่ละครั้ง

ผู้ต้องโทษที่ถูกคุมขังจักได้รับการเข้าเยี่ยมโดยญาติและเพื่อนฝูงได้เดือนละสองครั้ง การเข้าเยี่ยมแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 30 นาที และอนุญาตให้ผู้เข้าเยี่ยมได้ไม่เกินสามคน ทั้งนี้รวมทั้งทารกและเด็กในแต่ละครั้ง

เมื่อรับเข้ามาในสถาบันแล้ว ผู้อยู่ภายใต้การควบคุมทุกคนจะต้องแจ้งรายชื่อผู้ที่จะเข้าเยี่ยมและความสัมพันธ์ ในระหว่างการควบคุมตัวรายชื่อผู้จะเข้าเยี่ยมอาจทำการแก้ไขเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารของสถาบันนั้นๆ

เวลาของการเข้าเยี่ยมและสถานที่ตั้งของสถาบัน

สถาบันต่างๆ ได้กำหนดเวลาการเข้าเยี่ยมต่างๆกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มจากเวลาเช้า 9:00 น. ถึงเวลาบ่าย 17:00 น. ผู้เข้าเยี่ยมต้องลงทะเบียนการเข้าเยี่ยม 30 นาทีก่อนกำหนดเวลาปิดการเข้าเยี่ยม แต่ทว่าบางสถาบัน อย่างเช่น ศูนย์ต้อนรับและบ้านพักครึ่งทาง อาจจะมีการจัดการที่ต่างไปเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ โปรดเข้าตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็ปของ แต่ละสถาบัน* หน้าเว็ปยังมีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และการขนส่งสาธารณะเพื่อเข้าไปถึงสถาบันนั้นๆด้วย

การให้ข้อมูลส่วนบุคคลในการเข้าเยี่ยม

ผู้เข้าเยี่ยมบุคคลที่ถูกควบคุมตัวเป็นครั้งแรกจะต้องแสดงบัตรประชาชนเพื่อการยืนยันตน และต้องกรอกลงในใบลงทะเบียนชื่อ เลขที่บัตรประชาชนฮ่องกง (หรือหมายเลขหนังสือเดินทางที่ถูกต้อง) ที่อยู่และความสัมพันธ์กับผู้ถูกควบคุมตัวที่ต้องการจะเข้าเยี่ยม สำหรับการเข้าเยี่ยมบุคคลเดิมในครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนที่อยู่ใหม่ เว้นแต่ว่าข้อมูลดังกล่าวจำเป็นต้องทำการแก้ไขเท่านั้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล โปรดเข้าตรวจสอบที่หน้าเว็บภายใต้คำชี้แจง ข้อมูลส่วนบุคคล*

สิ่งของที่สามารถนำเข้าเยี่ยมได้

บุคคลที่ถูกควบคุมตัวได้รับอนุญาตให้รับสิ่งของจากผู้เข้าเยี่ยมได้ รายการสิ่งของที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าเยี่ยมของผู้ถูกคุมขังและผู้ต้องขังนั้นแตกต่างกัน โปรดตรวจดูรายละเอียดรายการของ สิ่งของที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าเยี่ยมได้ สำหรับรายการบางชนิด อย่างเช่น ไหมขัดฟัน ผู้ถูกควบคุมที่เกี่ยวข้องต้องได้รับอนุมัติรับสิ่งของดังกล่าวจากผู้บริหารของสถาบันนั้นๆ ในแต่ละครั้ง

หากผู้เข้าเยี่ยมต้องการที่จะมอบสิ่งของตามรายการที่ได้รับอนุมัติ สิ่งของดังกล่าวจะต้องส่งมอบไปยังเจ้าหน้าที่ในสำนักงานลงทะเบียนเพื่อทำการตรวจสอบและลงทะเบียน นอกเหนือจากการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยแล้ว สิ่งของดังกล่าวที่คล้ายคลึงกันจะถูกรวมผสมเข้าด้วยกันและสุ่มแจกจ่ายไปให้ผู้ถูกควบคุมที่เกี่ยวข้อง

โดยพื้นฐานแล้ว CSD ได้จัดหาสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนอย่างเพียงพอ สำหรับการรักษาการเป็นอยู่ที่ดีและมีสุขภาพที่ดีสำหรับการดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ยกเว้นผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมายสถานกักกันหรือกฎหมายศูนย์ฟื้นฟู อย่างไรก็ตามสิ่งอุปโภคบริโภค (อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เครื่องเขียน ขนมและเครื่องดื่ม เป็นต้น) สามารถหาซื้อได้จากโรงอาหารตามโครงการจัดหาซื้อเดือนละครั้งได้จากรายได้จากการทำงานของบุคคล โครงการนี้ได้จัดขึ้นด้วยความมุ่งหมายที่จะเป็นแรงจูงใจในการทำงานและแรงบันดาลใจของผู้ถูกควบคุมด้วย

หากผู้เข้าเยี่ยมต้องการที่จะมอบสิ่งของตามรายการที่ได้รับอนุมัติ สิ่งของดังกล่าวจะต้องส่งมอบไปยังเจ้าหน้าที่ในสำนักงานลงทะเบียนเพื่อทำการตรวจสอบและลงทะเบียน นอกเหนือจากการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยแล้ว สิ่งของดังกล่าวที่คล้ายคลึงกันจะถูกรวมผสมเข้าด้วยกันและสุ่มแจกจ่ายไปให้ผู้ถูกควบคุมที่เกี่ยวข้อง

โดยพื้นฐานแล้ว CSD ได้จัดหาสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนอย่างเพียงพอ สำหรับการรักษาการเป็นอยู่ที่ดีและมีสุขภาพที่ดีสำหรับการดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ยกเว้นผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมายสถานกักกันหรือกฎหมายศูนย์ฟื้นฟู อย่างไรก็ตามสิ่งอุปโภคบริโภค (อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เครื่องเขียน ขนมและเครื่องดื่ม เป็นต้น) สามารถหาซื้อได้จากโรงอาหารตามโครงการจัดหาซื้อเดือนละครั้งได้จากรายได้จากการทำงานของบุคคล โครงการนี้ได้จัดขึ้นด้วยความมุ่งหมายที่จะเป็นแรงจูงใจในการทำงานและแรงบันดาลใจของผู้ถูกควบคุมด้วย

ข้อจำกัดในการเข้าเยี่ยมบุคคลที่ถูกควบคุมตัว

เพื่อวัตถุประสงค์ในการประกันความเป็นระเบียบเรียบร้อยและวินัยที่ดี และเป็นการป้องกันอาชญากรรมในสถาบันราชทัณฑ์ อาจมีการระงับการเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวผู้ซึ่งกระทำความผิดหรือต้องสงสัยว่ากระทำความผิดที่มีลักษณะทางอาญาในสถาบันเป็นเวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์ได้

การเข้าเยี่ยมทางวีดีโอ

ผู้ถูกควบคุมตัวอาจเสนอขอกับฝ่ายบริหารของสถาบันที่เกี่ยวข้องให้เข้าเยี่ยมทางวีดีโอได้ล่วงหน้า โดยที่ญาติหรือเพื่อนฝูงอาจไม่สะดวกกับการเยี่ยมสถาบันเนื่องมาจากสมรรถภาพทางร่างกาย อย่างเช่น ชราภาพ ตั้งครรภ์ ทุพพลภาพหรือเหตุผลอื่นเป็นพิเศษ ผู้ถูกควบคุมตัวที่มีสิทธิ์สามารถรับการเข้าเยี่ยมทางวีดีโอได้ไม่เกินเดือนละครั้ง โดยมีผู้เข้าเยี่ยมได้ไม่เกินสามคนและการเข้าเยี่ยมแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 20 นาที หลังจากที่ได้รับอนุมัติแล้วผู้เข้าเยี่ยมจะได้รับแจ้งให้ใช้วีดีโอที่ ศูนย์บริการครอบครัวอเนกประสงค์และการฟื้นฟูสมรรถภาพ*นอกจากนั้น CSD กำลังทดลองใช้ระบบการเข้าเยี่ยมทางวีดีโอโซเชียว ผู้เข้าเยี่ยมสามารถเข้าเยี่ยมทางวีดีโอได้ที่ 1/F, Urine Specimen Collection Centre, Lai Chi Kok Reception Centre ผู้เข้าเยี่ยมสามารถเข้าเยี่ยมทางวีดีโอกับผู้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำสแตนเลย์ได้ โปรดเข้าตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เรือนจำสแตนเลย์* หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จากเจ้าหน้าที่การเข้าเยี่ยมของเรือนจำสแตนเลย์ได้

คำถามที่พบได้บ่อย ๆ

คำถาม 1 : ผู้เข้าเยี่ยมสามารถสอบถามข้อมูลของผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำได้หรือไม่ ?

ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลใด ๆ จะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยตามที่ได้ระบุไว้ภายใต้กฎหมายหมวดที่ 486 ว่าด้วยกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (ความเป็นส่วนตัว) ดังนั้น ทางเราทำได้เพียงแต่ตอบคำถามผ่านทางโทรศัพท์ได้เพียงแค่ว่าผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำอยู่ที่ไหนเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่าผู้สอบถามนั้นต้องเป็นผู้เข้าเยี่ยมที่ผ่านการแสดงตนแล้วเท่านั้น และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ มาก่อนหน้าแล้ว โดยปกติแล้วการสอบถามที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดของคำตัดสินลงโทษของผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำนั้นจะไม่ได้รับการพิจารณา โปรดเข้าไปดูที่หน้าเว็บไซด์ของแต่ละเรือนจำ เรือนจำแต่ละแห่ง*(Individual Institutions*) ในการสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ ทั้งนี้ ทางเรือนจำได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ ในการติดต่อกับญาติ และเพื่อนฝูงเกี่ยวกับการลงทะเบียน/การย้ายโอน / ปล่อยตัว ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ


คำถาม 2: ผู้เข้าเยี่ยมสามารถเอาข้าวของส่วนตัวเข้าไปด้วยได้ไหม?

ผู้เข้าเยี่ยมไม่สามารถนำเอาของส่วนตัวเข้าไปด้วยเมื่อเข้าเยี่ยม พวกเขาจะต้องเอาของส่วนตัวฝากไว้ในที่เก็บของที่จัดไว้โดยเรือนจำก่อนที่จะเข้าไปเยี่ยม ในส่วนของมาตรการความปลอดภัย ผู้เข้าเยี่ยมจะต้องเดินผ่านทางเข้าประตูตรวจจับโลหะ และ/หรือ ผ่านเครื่องตรวจจับโลหะแบบมือถือ สุนัขดมกลิ่นจะทำการลาดตระเวนทั่วไปในสถานที่เยี่ยมชม ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 18 ของกฤษฏีกาเกี่ยวกับกรมราชทัณฑ์ บุคคลใด ๆ ก็ตาม ที่ได้นำเอาสิ่งของใด ๆ ติดตัวเข้าไปในระหว่างเยี่ยมนักโทษโดยที่ไม่ได้รับอนุญาติจะถือว่าได้กระทำความผิดและต้องโทษเป็นการจ่ายค่าปรับจำนวน 2000 เหรียญฮ่องกง และจำคุก 3 ปี เช่นเดียวกันกับ ผู้ที่อยู่ในระหว่างการควบคุมตัวก็จะถือว่าได้กระทำความผิดกฎข้อที่ 23 และ 61 หากพบว่าบุคคลที่ถูกคุมขังมีข้าวของไว้ในความครอบครองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต


คำถาม 3: ผู้เข้าเยี่ยมสามารถส่งมอบยาต่าง ๆ ให้แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวในเรือนจำได้หรือไม่ ?

เรือนจำทุกแห่งมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จากกรมอนามัย ซึ่งจะต้องมีหน้าที่ในการรักษาพยาบาล และต้องรับผิดชอบในการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขัง / ผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวในเรือนจำทุกคน การที่ผู้เข้าเยี่ยมจะนำยาจากข้างนอกไปให้ผู้ต้องขัง / ผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวในเรือนจำจะต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขว่า ยานั้นจะต้องเป็นยาที่จ่ายโดยแพทย์ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น และจะต้องบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์เดิมที่มีเครื่องหมายและฉลากยาที่ชัดเจน


คำถาม 4: ทำไมข้าวของต่าง ๆ ที่สามารถนำเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังได้ถึงจำเป็นต้องเป็นยี่ห้อ และ สเปกที่ระบุไว้เท่านั้น?

ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นข้าวของทุกอย่างที่ส่งมอบให้กับผู้ต้องขังจะถูกนำมากองไว้รวมกัน และคละ ผสมปนกัน ก่อนที่จะสุ่มแจกจ่ายให้กับผู้ต้องขัง เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการทำงาน เราจำเป็นต้องใช้ของยี่ห้อเดียวกัน และข้อกำหนดของสินค้าทุกชิ้นที่อนุญาติให้เอามาเยี่ยมผู้ต้องขังได้ โดยพิจารณาจากความปลอดภัยและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึง ความนิยมของสินค้า และการที่สินค้าดังกล่าวจะไม่มีการขาดตลาด


คำถาม 5: ผู้เข้าเยี่ยมสามารถสูบบุหรี่ในระหว่างที่เยี่ยมผู้ต้องขังได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ สถานที่เยี่ยมไม่อนุญาตให้มีการสูบบุหรี่ได้ ตามกฤษฎีกาข้อที่ 371 ว่าด้วยการสูบบุหรี่ (สาธารณะสุข) บุคคลใดก็ตามที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะต้องระวางโทษคงที่ จำนวน 5,000 เหรียญฮ่องกง


คำถาม 6: ผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำจะได้รับของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพียงพอหรือไม่?

แน่นอน ผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำทุกคนจะได้รับสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันเพียงพอสำหรับการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีและดีต่อสุขภาพ ในระหว่างที่ต้องขัง และ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำจะได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ตามที่นักโภชนาการจัดให้ ซึ่งก็ได้จัดอ้างอิงตามแนวทางด้านสุขภาพของระดับนานาชาติและระดับท้องถิ่น มีการจัดเตรียมเสื้อผ้าและเครื่องนอนให้อย่างเพียงพอและเหมาะสมกับสภาพอากาศเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง นอกเหนือจากนี้ ยังมีการจัด อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมทั้ง ยาสีฟัน , แปรงสีฟัน , กระดาษทิชชู เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับรักษาสุขภาพอนามัย และความสะอาดส่วนบุคคล


คำถาม 7: ผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ จะได้รับการรักษาใด ๆ หรือไม่ หากพวกเขาเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือมีปัญหาทางด้านอารมณ์ ?

แน่นอน ในเรือนจำทุกแห่งจะมีสถานพยาบาลพร้อมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ จากกรมอนามัย รวมทั้ง เจ้าพนักงานพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ดูแลทางการแพทย์ และสุขภาพของผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ หากใครรู้สึกไม่สบาย พวกเขาจะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์/ เจ้าพนักงานพยาบาลวิชาชีพตามที่พวกเขาต้องการ นอกจากนี้ ยังมีบริการ Psychological services* ( แผนกบริการด้านสุขภาพจิต ) สำหรับผู้ต้องขัง/ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำหากพวกเขามีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต หรือ ไม่สามารถปรับตัวหรือมีความยากลำบากในการปรับตัว หรือ ปัญหาทางจิตใด ๆ


คำถาม 8: ในกรณีที่ผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำเผชิญกับการปรับตัวภายในเรือนจำ หรือ ปัญหาส่วนตัว/ปัญหาในครอบครัว จะทำอย่างไรได้บ้าง ?

ผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำทุกคนสามารถที่จะเข้ามาหาเจ้าพนักงานที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่หรือ เจ้าพนักงานระดับอาวุโสของเรือนจำดังกล่าว เพื่อขอความช่วยเหลือ หากพวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวในระหว่างที่อยู่ในคุก เจ้าพนักงานในหน่วยฟื้นฟูของเรือนจำดังกล่าว จะช่วยให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาในเรื่องการปรับตัวภายในเรือนจำ หรือปัญหาส่วนตัว/ปัญหาในครอบครัวต่าง ๆ หากจำเป็น ก็อาจมีการส่งต่อพวกเขาไปยังผู้เชียวชาญเพื่อติดตามผล


คำถาม 9: ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการเตรียมการเข้าเยี่ยมไหม?

ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ หรือ จากญาติของพวกเขา รวมทั้ง เพื่อน ๆ ในการเตรียมการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ ในความเป็นจริงแล้ว การจัดเตรียมการอื่น ๆ ที่ทาง CSD มีให้กับต้องขัง/ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ อันได้แก่ อาหาร ที่พักอาศัย และ เสื้อผ้า เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ หากบุคคลใด เรียกร้องเงิน ของขวัญ หรือสินน้ำใจ จากคุณ ในการจัดเตรียมการใด ๆ ที่ดำเนินการโดย CSD กรุณาแจ้งกรณีดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสของเรือนจำ หรือ คณะกรรมการอิสระต่อต้านการทุจริต (ICAC) โดยไม่ชักช้า


คำถาม 10: มีช่องทางการร้องเรียนหรือไม่ ?

แน่นอน หากคุณมีเหตุที่ต้องการร้องเรียน คุณสามารถทำได้ที่เจ้าพนักงานประจำเวรท่านใดก็ได้ หรือ ขอเข้าพบเจ้าหน้าที่อาวุโสของเรือนจำดังกล่าว อีกทั้ง คุณยังสามารถที่จะร้องเรียนได้โดยตรงที่หน่วยสืบสวนคำร้องเรียนของเรือนจำ ( Complaints Investigation Unit*)


คำถาม 11: ผู้ต้องการเข้าเยี่ยมที่เป็นบุคคลทุพลภาพ หากต้องการเข้าไปเยี่ยมเพื่อน / ญาติ ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านวีดีโอคอล จะต้องดำเนินการอย่างไร?

เรือนจำบางแห่งไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการรองรับการจัดสภาพแวดล้อม หรือสถานที่ให้เหมาะสำหรับผู้พิการทางร่างกาย การออกแบบสถานที่ให้เหมาะกับผู้พิการนั้นได้มีการนำมาใช้กับสิ่งอำนวยความสะดวกในเรือนจำแห่งใหม่ที่สร้างขึ้น หรือเรือนจำบางแห่งที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง หากคุณคิดว่าจะพบกับความไม่สะดวกสบายในการใช้สถานที่ตอนที่มาเรือนจำ กรุณาติดต่อสอบถามจากฝ่ายจัดการสถานที่ของเรือนจำแต่ละแห่ง Individual Institutions* และขอความช่วยเหลือได้ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการของแต่ละเรือนจำแต่ละแห่ง กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ Access Officer เพื่อขอใช้ของเรือนจำแห่งนั้น ๆ โดยตรง


คำถาม 12: ผู้เข้าเยี่ยมสามารถพาคนอื่นเข้าไปเยี่ยมพร้อมกันได้หรือไม่ ?

เพื่อผลประโยชน์ของผู้ต้องโทษที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวในเรือนจำ ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ และความสัมพันธ์กับครอบครัวของเขา ผู้ต้องโทษที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวในเรือนจำสามารถขอให้ญาติ หรือคนในครอบครัวเข้ามาเยี่ยมได้เพิ่มอีกสองครั้งต่อเดือน นอกเหนือไปจากที่กฎหมายได้บัญญัติไว้


คำถาม 13: ผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำสามารถรับเอานิตยสาร วารสาร หรือ สื่อการอ่านทั่วไปอื่น ๆ ได้จำนวนกี่เล่ม ?

ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำสามารถรับนิตยสาร วารสาร หรือสื่อการอ่านทั่วไป อื่น ๆ ได้ไม่เกินหกฉบับต่อเดือน หนังสือคำสอนของศาสนา หนังสือสวดมนต์หรือหนังสือที่ให้ข้อคิดทางวิญญาณสามารถรับได้ในจำนวนที่ไม่จำกัด ในขณะที่หนังสือเรียนสามารถรับได้ตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติ


คำถาม 14: ผู้เข้าเยี่ยมสามารถนำอาหารไปฝากให้ผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำได้หรือไม่ ?

บุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวในเรือนจำจะได้รับอาหารที่เรียบง่ายและมีประโยชน์ ปริมาณอาหารที่ได้รับนั้นได้รับการออกแบบจากนักโภชนาการมืออาชีพ โดยมีปริมาณสารอาหารทางโภชนาการที่เป็นไปตามที่กรมอนามัยได้กำหนดไว้รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางโภชนาการระหว่างประเทศ ในส่วนของผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ ที่มีความต้องการสารอาหาร และผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำตามความเชื่อทางศาสนา ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ได้มีการจัดอาหารหลักอยู่ สี่ เสกล อันได้แก่ เสกล 1 ซึ่งมีข้าวสวยเป็นอาหารหลัก ; เสกล 2 มี แกงกะหรี่และจาปาตีเป็นอาหารหลัก ; เสกล 3 มี มันฝรั่งและขนมปังเป็นอาหารหลัก ; และ เสกล 4 ที่เป็นอาหารเจ นอกเหนือจากนี้ ผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำยังจะได้รับอาหารเสริมนอกเหนือไปจาก อาหารทั้ง 4 เสกลตามความต้องการของแต่ละคน

สำหรับผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำนั้นสามารถจัดซื้อหรือได้รับอาหารได้เอง โดยอาหารที่จัดเตรียมมาจากข้างนอก สามารถติดต่อเจ้าพนักงานของหน่วยฟื้นฟูของเรือนจำได้ พวกเขาสามารถรับขนมของขบเคี้ยวจากผู้ที่มาเยี่ยมเยียนตอนที่มาเยี่ยมได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ Approved Hand-in Articles (รายชื่อสิ่งของที่สามารถนำเยี่ยมผู้ต้องขัง)


คำถาม 15: นอกเหนือไปจากการไปเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำแล้ว เราสามารถที่จะเขียนจดหมายถึงผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ หรือตอบจดหมายถึงพวกเขาได้บ่อยเท่าที่ต้องการหรือไม่ ?

แน่นอน ผู้ต้องขัง / ผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำสามารถที่จะรับจดหมายหรือเขียนจดหมายส่งออกไปได้มากเท่าที่ต้องการ ผู้ต้องโทษที่อยู่ในเรือนจำสามารถเขียนจดหมายส่งออกไปโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย มีซองจดหมาย กระดาษและแสตมป์ให้ฟรี สัปดาห์ละหนึ่งฉบับหากต้องการส่งจดหมายในจำนวนที่มากกว่านั้น พวกเขาสามารถใช้เงินที่ได้จากการทำงานซื้อแสตมป์เอง ในส่วนของผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ พวกเขาสามารถที่จะขอกระดาษและอุปกรณ์เครื่องเขียนสำหรับเขียนจดหมายได้มากเท่าที่ต้องการ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ Approved Hand-in Articles (รายชื่อสิ่งของที่สามารถนำเยี่ยมผู้ต้องขัง)

ทางกรมราชทัณฑ์ได้เปิดการเข้าเยี่ยมโดยอีบุกคิง# ซึ่งสามารถเข้าทำการจับจองเวลาการเข้าเยี่ยมเป็นเวลา 7 วันล่วงหน้าได้โดยผ่านการจองทางออนไลน์แพลทฟอร์ม ทั้งนี้ยังสามารถที่จะตรวจดูการเข้าเยี่ยมครั้งล่าสุดได้ รวมทั้งโควตาสิ่งของที่อนุมัติให้นำเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ ทั้งยังสามารถลงทะเบียนเปิดบัญชีบริการผ่าน "iAM Smart+" เพื่อการลงทะเบียนล่วงหน้า หรือโดยการเข้าเยี่ยมสถาบันด้วยตนเอง การบริการอีบุกคิงจะเริ่มใช้บริการได้ในวันที่ 1 พฤษจิกายน ไฮไลท์ของบริการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิงมีดังนี้ :

#บริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิงจะต้องได้รับแจ้งว่าเป็นผู้จะเข้าเยี่ยม โดยคำยินยอมให้ผู้เข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัว PIC เสียก่อน

ไฮไลท์

  • สามารถข้าจองเวลาการเข้าเยี่ยมโดยใช้เครื่องตั้งโต๊ะหรือโทรศัพท์มือถือ
  • สามารถเข้าจองเวลาการเข้าเยี่ยมเป็นเวลา 7 วันล่วงหน้าโดยใช้ระบบบริการจองทางอีบุกคิง (ขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาของการเข้าเยี่ยมของแต่ละสถาบัน โปรดเข้าตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมจากหน้าเว็บของสถาบันที่เกี่ยวข้อง)
  • สามารถเข้าถึงได้ทันทีเพื่อการใช้ระบบบริการการจอง
  • หลังจากที่ได้จองเวลาการเข้าเยี่ยมแล้ว อีเมลตอบรับจะทำการส่งเพื่อเป็นการยืนยันเวลาที่ได้จองไว้
  • สามารถทำการแก้ไข ยกเลิก หรือสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของเวลาที่ได้จองไว้
  • สามารถเปลี่ยนใช้มือถือแอปพลิเคชัน CSD สำหรับการสอบถามเกี่ยวกับสถานะการเข้าเยี่ยม
  • สามารถสอบถามโควตาสิ่งของที่ได้อนุมัติให้นำเข้าเยี่ยมได้

โปรดคลิกเ¬ข้าตรวจสอบบริการจองเวลาการเข้าเยี่ยมข้างล่างนี้ได้
บริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิง / Social Visit e-Booking Service*

การลงทะเบียนบัญชีครั้งแรกและวิธีการใช้บริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิง

รายละเอียดของการลงทะเบียนบัญชีครั้งแรก และวิธีการใช้บริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ วิธีการใช้ *

คำถามที่ถามบ่อย (FAQs) :

การลงทะเบียนบัญชีและการบริหาร

1. สามารถลงทะเบียนบัญชีผ่านระบบบริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิงได้อย่างไร (ระบบ)?

ผู้เข้าเยี่ยมจะต้องแจ้งตนเป็นผู้จะเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัว (PIC) และให้ลงทะเบียนบัญชีอีบุกคิงโดยผ่านวิธีการ ดังนี้ :

  • ลงทะเบียนบัญชีอีบุกคิงโดยใช้ “iAM SMART+” หรือ
  • ลงทะเบียนออนไลน์พร้อมรายละเอียดบุคคล และเดินทางไปที่สถาบันที่ PIC ดังกล่าวถูกควบคุมตัวอยู่เพื่อการยืนยันตน หรือ
  • เดินทางไปที่สถาบันที่ PIC ดังกล่าวถูกควบคุมตัวไว้ด้วยตนเอง เพื่อทำการยื่นคำร้องขอเข้าเยี่ยม

หลังจากที่ได้รับคำยินยอมจาก PIC ที่เกี่ยวข้องแล้ว สามารถผ่านระบบทำการเปิดบัญชีอีบุกคิง หลังจากได้เปิดบัญชีแล้ว อีเมลจะจัดส่งให้เพื่อเป็นการแจ้งตอบรับ พร้อมแจ้งเลขรหัสใช้ครั้งแรกไปที่ที่อยู่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ หลังจากนั้นสามารถล็อกอินเข้าระบบด้วย iAM SMART+ หรือที่อยู่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ หลังจากนั้นควรที่จะเปลี่ยนเลขรหัสการใช้ทันทีหลังจากที่ได้ใช้เปิดระบบครั้งแรกแล้ว


2. เลขรหัสจำเป็นต้องมีข้อกำหนดอะไรบ้าง?

เลขรหัสต้องมีตัวอักษรอย่างน้อย 8 ถึง 16 ตัว ทั้งนี้รวมถึงอักษรตัวใหญ่ อักษรตัวเล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ เลขรหัสมีอายุใช้งาน 90 วัน และเลขรหัสที่เปลี่ยนจะต้องไม่เหมือนกับ 8 ครั้งที่เคยใช้แล้ว


3. จะทำอย่างไรถ้าจำเลขรหัสล็อกอินไม่ได้ ?

หากจำเลขรหัสล็อกอินไม่ได้ สามารถคลิก “ลืมรหัส” “Forget Password” และทำตามคำสั่งบนหน้าจอ เลขรหัสใหม่จะถูกส่งไปที่ที่อยู่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้


4. จะทำอย่างไรถ้าจำที่อยู่อีเมลใช้ล็อกอินไม่ได้ ?

หากจำที่อยู่อีเมลใช้ล็อกอินไม่ได้ สามารถสอบถามโดยส่งอีเมลไปที่ email@csd.gov.hk


5. จะทำอย่างไรถ้าต้องการจะเปลี่ยนที่อยู่อีเมล?

หากมีความต้องการที่จะเปลี่ยนที่อยู่อีเมล ก่อนอื่นต้องยกเลิกบัญชีที่ใช้อยู่ก่อนโดยกด “ยกเลิกบัญชี” “Account Deletion” หลังจากนั้นลงทะเบียนบัญชีใหม่โดยใช้ที่อยู่อีเมลใหม่ หากต้องการความช่วยเหลือ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เวรห้องการเข้าเยี่ยม

วิธีการใช้บริการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิง

6. สามารถทำการนัดจองได้เมื่อไร?

ระบบมีการทำงานตลอด 24 ชม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโควตาเวลาที่มี สามารถทำการจองล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาว่างของการเข้าเยี่ยมของแต่ละสถาบัน โปรดเข้าตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมจากหน้าเว็บของ CSD) สำหรับผู้ใช้แต่ละคนสามารถจองเวลาได้เพียงสองเวลา และเวลาระหว่างสองเวลาที่จองนั้นจะต้องไม่ต่ำกว่า1 ชม.


7. จะทำอย่างไรถ้าโควตาเวลาของวันที่ต้องการจองได้ถูกจองไปแล้ว?

ถ้าโควตาเวลาของวันที่ต้องการจองได้ถูกจองไปแล้ว สามารถทำการนัดจองของวันต่อไปได้ โควตาเวลาของ 7 วันล่วงหน้าจะให้เริ่มเข้าทำการนัดจองได้ตั้งแต่เวลาเช้า 8:30 น.ของทุกวัน การนัดจองด้วยตนเองสามารถทำได้ที่ห้องการเข้าเยี่ยมที่สถาบันที่เกี่ยวข้อง สถาบันต่างๆมีเวลาการเข้าเยี่ยมต่างกันไป ส่วนใหญ่จะเปิดจากเวลาเช้า 9:00 น. ถึง 17:00 น. การลงทะเบียนเข้าเยี่ยมต้องกระทำล่วงหน้า 30 นาทีก่อนเวลาปิดการเข้าเยี่ยม บางสถาบันอย่างเช่น ศูนย์รับรอง บ้านครึ่งทาง อาจมีการจัดการต่างไปเพื่อความเหมาะสมของท้องถิ่น โปรดเข้าตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมจากหน้าเว็บของ CSD


8. จะทำอย่างไรถ้าต้องการที่จะยกเลิกการนัดจอง ?

หากต้องการที่จะยกเลิกการนัดจอง ควรที่จะทำการยกเลิกก่อนเวลาที่ได้นัดจองไว้


9. จะทราบได้อย่างไรว่าการนัดจองเวลาประสบความสำเร็จแล้ว?

อีเมลยืนยันการนัดจองสำเร็จจะแจ้งไปยังที่อยู่อีเมล นอกจากนั้นสามารถคลิก “สอบถามการจอง” “Enquire Applied Booking” เข้าไปเพื่อตรวจสอบการนัดจองที่ได้ทำไว้


10. บริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิงเป็นระบบที่สนับสนุนโดยระบบการดำเนินการ (OS) แพลทฟอร์มในเครื่องมือถือไหม ?

บริการการเข้าเยี่ยมโดยทางอีบุกคิงไม่แต่สนับสนุนระบบนตั้งโต๊ะ แต่ยังสามารถใช้งานใช้กับ เทเบลท และสิ่งที่ใช้กันทั่วไปแพลทฟอร์มทั้งสองมือถือ OS iOS และ Android OS


11. ทำไมจึงถามเกี่ยวกับสถานะการเข้าเยี่ยมโดยปราศจากการเข้าถึงการจองทางอีบุกคิงโดยผ่านระบบ ?

สามารถเข้าจองโดยอีบุกคิงได้ก็ต่อเมื่อ PIC ที่ต้องการจะเข้าเยี่ยมได้ให้ความยินยอมให้ผู้เข้าเยี่ยมแล้วเท่านั้น .

การจัดการการเข้าเยี่ยมและอื่นๆ

12. อะไรคือผลตามมาหากไม่ได้เข้าเยี่ยมตามกำหนดการณ์ที่มี ?

เพื่อประสิทธิภาพของการใช้งาน หากพบว่ามีการผิดนัดไม่ได้เข้าเยี่ยมตามกำหนดการณ์ที่ได้จัดทำไว้แล้วสองครั้ง จะมีการระงับบริการการเข้าเยี่ยมทางอีบุกคิงเป็นเวลา 7 วัน และเป็นเวลา 14 วันในครั้งถัดไป ประวัติการผิดนัดจะถูกยกเลิกหลังจากที่ไม่ปรากฏมีการผิดนัดเป็นเวลา 6 เดือน


13. เหตุการณ์ใดที่การนัดจองการเข้าเยี่ยมมีการเลื่อนไปหรือถูกยกเลิก ?

ฝ่ายบริหารของสถาบันเสนอบริการการเข้าเยี่ยมจากผู้เข้าเยี่ยมได้ อย่างไรก็ตามการเข้าเยี่ยมอาจมีการล่าช้าหรือถูกยกเลิกด้วยเหตุสุดวิสัย อย่างเช่น PIC ที่เกี่ยวข้องถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลข้างนอกเพราะเหตุฉุกเฉิน หรือ PIC ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถนำตัวไปได้เพราะเหตุการปฏิบัติการ ผู้เข้าเยี่ยมควรที่จะเข้าตรวจระบบของสถาบันที่ถูกควบคุมตัวเพื่อตรวจดูข้อมูลของการเข้าเยี่ยม


14. หากสถานะของการเข้าเยี่ยมของ PIC ในระบบชี้ให้เห็นว่า “อนุมัติการเข้าเยี่ยม” “Visits Permitted” เป็นการการันตีการเข้าเยี่ยมของ PIC ดังกล่าวหรือไม่ ?

อันที่จริงสถานะของการเข้าเยี่ยม PIC อาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราวเนื่องจากเหตุต่างๆ สถานะของการเข้าเยี่ยมที่ปรากฏบนระบบเป็นเพียงข้ออ้างอิงเท่านั้น และไม่ได้การันตีการเข้าเยี่ยมแต่อย่างใด


15. เวลาที่ควรจะไปถึงสถาบันหากว่ามีการนัดจองการเข้าเยี่ยมไว้แล้ว ?

การเข้าเยี่ยมควรที่จะไปถึงห้องเข้าเยี่ยมที่สถาบันอย่างน้อย 30 นาทีก่อนเวลานัดการเข้าเยี่ยม และนำบัตรประชาชนหรือเอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อทำการลงทะเบียนและการยืนยันตน ทั้งนี้เพื่อมีเวลาเพียงพอในการจัดการบริหารที่จำเป็นและการมอบสิ่งของที่ได้อนุมัติให้นำเข้าเยี่ยมได้

สอบถามทั่วไป

การสอบถามทั่วไป โปรดโทรสายด่วนที่ (852) 2511 3511 หรือติดต่อทางอีเมลที่ email@csd.gov.hk

ในขณะที่ CSD มุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสที่ดีที่สุดให้กับผู้กระทำความผิดทุกคน เพื่อที่จะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ได้หลังจากที่มีการปลดปล่อยแล้ว การบูรณาการอีกครั้งก็จะประสบความสำเร็จในการนำผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟูกลับคืนสู่สังคมได้ ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของสังคมที่จะยอมรับและให้ความสนับสนุนบุคคลเหล่านี้ ทางกรมได้ทำการส่งเสริมเพื่อการยอมรับและสนับสนุนจากชุมชนอย่างเต็มที่ต่อผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟูแล้ว โดยผ่านการศึกษา การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน คณะกรรมการสนับสนุนชุมชนเพื่อผู้ที่กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟู* ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 1999 เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานอันสำคัญนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมประชาสัมพันธ์และการศึกษาสาธารณชนได้จัดทำขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยชุมชนเพิ่มความเข้าใจที่ดีตามความต้องการและปัญหาของผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟู รวมทั้งขอความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงโครงการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ได้จัดขึ้นร่วมกับคณะกรรมการต่อต้านอาชญากรรมในเขตต่างๆ การประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการว่าจ้างงานผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟู รายการพิเศษทางวิทยุและโทรทัศน์ ประกาศแจ้งทางโทรทัศน์และวิทยุเพื่อสาธารณประโยชน์ นิทรรศการและการผลิตเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้ต้องขัง เป็นต้น

ทางกรมมีความยินดีและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูผู้กระทำผิด ช่องทางที่ได้จัดตั้งขึ้นมีดังนี้คือ

กลุ่มอาสาฟื้นฟูของ CSD

ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่อาจเข้าร่วมการศึกษาและการพัฒนางานอดิเรกที่ได้จัดขึ้นให้เข้าร่วมหลังเลิกงานตามความสมัครใจ ชั้นเรียนการสอนและกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวส่วนใหญ่ดำเนินการโดยอาสาสมัครจากกลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูของ CSD ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 กลุ่มอาสาสมัครเปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนโดยทั่วไปได้มีส่วนเข้าร่วมโดยตรงกับการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด บุคคลที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูของ CSD สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูของ CSD (หมายเลขโทรศัพท์ : 2505 1492)

ความช่วยเหลือด้านการว่าจ้างงาน

ทางกรมสนับสนุนโอกาสการว่าจ้างงานที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้กระทำผิดที่ได้รับการฟื้นฟู และส่งต่อผู้กำกับดูแลไปยังนายจ้างที่ต้องการว่าจ้างผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟู นายจ้างที่สนใจสามารถติดต่อสายด่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (หมายเลขโทรศัพท์ : 2582 5555) ตามความเหมาะสม ทาง CSD จะอำนวยความสะดวกโครงการที่ริเริ่มโดยองค์การพัฒนาเอกชนเพื่อการว่าจ้างผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟู

การบริจาคให้กับกองทุนสวัสดิการผู้ต้องขัง (PWF) และกองทุนทรัสต์ เพื่อการศึกษาของผู้ต้องขัง (PETF)

PWF เป็นกองทุนการกุศลที่ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้มาตรา 21A ของบทบัญญัติว่าด้วยเรือนจำ (หมวด 234 ) เพื่อผลประโยชน์ของผู้ต้องขัง / นักโทษและผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟู ในทางตรงกันข้าม PETF ได้รับการจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายกองทุนการศึกษาของผู้ต้องขัง (หมวด 467) เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ต้องขังรายบุคคลในความพยายามที่จะได้รับการศึกษา และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาแก่ผู้ต้องขัง ด้วยการบริจาคเงินให้กับกองทุนเหล่านี้ องค์กรหรือสมาชิกชุมชนทั่วไปสามารถบริจาคทรัพย์สินเงินทองให้กับกองทุนเหล่านี้ เพื่อการบูรณาการผู้กระทำผิดที่ได้รับการฟื้นฟูกลับคืนสู่ความสำเร็จอีกครั้ง

ความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน

ในปัจจุบันมีองค์กรทางศาสนาและหน่วยงานบริการสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐต่างๆ มากกว่า 100 แห่งที่ได้เข้าร่วมกันทำงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังกลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง องค์กรต่างๆ เหล่านี้ผ่านการว่าจ้างนักสังคมสงเคราะห์ ที่ปรึกษาและอาสาสมัคร บริการเป็นที่ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านการว่าจ้างงานและสถานที่พักรวมทั้งบริการด้านสันทนาการและศาสนาสำหรับบุคคลที่อยู่ภายใต้การดูแลและผู้กระทำความผิด ที่ได้รับการฟื้นฟู นอกเหนือจากนั้นทางกรมได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2004 โครงการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนร่วมกับองค์กรบริการสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐเจ็ดแห่ง เพื่อทำการติดตามผู้กำกับดูแล ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการกำกับดูแลตามกฎหมายแล้ว เห็นว่ายังคงมีความต้องการและเต็มใจที่จะรับบริการให้คำปรึกษาต่อไป

ทีมงานสัมพันธ์ชนกลุ่มน้อยได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เยาวชนที่ไม่ใช่สายพันธุ์จีน (NEC) ในการพัฒนารอบด้านอย่างเป็นไปตามระบบมากขึ้น พร้อมทั้งให้การสนับสนุนเยาวชน NEC ผู้มีความต้องการที่จะเข้าร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย นับตั้งแต่การก่อตั้ง ทีมงานได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์สนับสนุนและโรงเรียนของ NEC เพื่อจัดทำกิจกรรมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับเยาวชนของ NEC อย่างเช่น การเสวนาและการจัดบูธเกี่ยวกับการรับสมัครงานเพื่อเยาวชนของ NEC นอกเหนือจากนั้นทีมงานยังมุ่งมั่นเพื่อที่จะดำเนินโครงการโนวา โดยจัดกิจกรรมต่างๆมากมาย รวมถึงเวิร์คชอปการวางแผนชีวิต การเข้าเยี่ยมชมสถานศึกษากรมราชทัณฑ์ NEC ชั้นเรียนฝึกอบรมสมรรถภาพทางกาย และเวิร์คชอปทักษะการสัมภาษณ์ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือเยาวชนของ NEC ในการพัฒนาค่านิยมเชิงบวก และการวางแผนเส้นทางชีวิตของตนเอง นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนตัวต่อตัว เพื่อช่วยเหลือให้เยาวชนของ NEC ขจัดปัญหาของการค้นหางานทำได้ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าร่วมงานของ CSD ทั้งยังเป็นการทำให้เกิดความช่วยเหลือสังคมขึ้นได้

สอบถามข้อมูลโครงการโนวาเพิ่มเติมได้ โปรดคลิก ที่นี่*

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 รัฐบาลได้จัดตั้งโครงการผู้ประสานงานการเข้าถึงและเจ้าหน้าที่การเข้าถึง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการเข้าถึงสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่างๆ ของรัฐบาล

ที่อยู่ Correctional Services Department Headquarters
23rd, 24th and 27th Floors, Wanchai Tower,
12 Harbour Road, Wan Chai,
Hong Kong

* เพื่อการส่งไปรษณีย์อันสมบูรณ์ กรุณาปิดแสตมป์สิ่งที่จะส่งให้เพียงพอ

สายด่วน (852) 2511 3511
โทรสาร (852) 2802 0184
อีเมล email@csd.gov.hk(สอบถามทั่วไป)
    comroffice@csd.gov.hk(สำนักงานคอมมิสชันเนอร์)
เว็ปไซด์ https://www.csd.gov.hk

*เนื้อหามีแค่เพียงภาษาอังกฤษ ภาษาจีนแบบตัวเต็ม และ ภาษาจีนแบบตัวย่อ เท่านั้น